วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557



              BMW R51/3 ปี 1954








มอเตอร์ไซค์ BMW R51/3 Motorcycle เพิ่งมาใหม่ในราคาที่ “ตื่นตะลึง” สมฐานะ กับรถสรรพคุณ “เพลาเปลือย-หน้ากระบอก-หลังสไลด์” เครื่องยนต์ “สูบนอน” บล็อก กลางขนาด 5 แรง “เจนท์ที่ 3″ ภายใต้ครอบครัวตระกูล R51 รถรุ่นพี่ที่เคยกวาดรายได้หลักให้โรงงานมาตั้งแต่ปี 1938…






“ทับสาม“… คือเวอร์ชั่นขัดเกลาในขั้น “สุดเจ๋ง” ก่อนส่งออกสู่ตลาด และ มันยังคงสร้างรายได้ก้อนโตๆ อย่างที่ถนัด แบบผลิตเก่าๆ ในรุ่นคลาสสิก ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ นี่คือ ผลลัพธ์ ที่คุ้มค่าแรง ที่ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ต่างพึงพอใจ ในฐานะ รถจักรยานยนต์รุ่นที่ดีสุด รุ่นหนึ่ง…ของโลก!!!




BODY/ FRAME ของ มอเตอร์ไซค์คลาสสิค BMW R51/3 ปี 1954
มอเตอร์ไซค์ BMW R51/3 คือรถเจเนอเรชั่น “ท้ายสุด” ของ BMW ที่อิงแบบผลิตดั้งเดิมในแบบรถหน้ากระบอก เฟรมหลังสไลด์…ร่วม “3 ทศวรรษ” ตั้งแต่ R32 คันแรกถูกสร้างสรรค์ขึ้นในปี 1923 โครงสร้างเฟรมแบบท่อกลม หน้าแหนบ ถังใต้เฟรม หลังแข็ง คือความลงตัวที่ถูกถ่าย ทอดจากมันสมองของ Max Priz วิศวกรการบินผู้โด่งดัง…
1929 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเฟรมครั้งใหญ่ด้วยงานโลหะ ปั๊มขึ้นรูป หน้าแหนบ ถังในเฟรม หลังแข็ง โปรดักต์โมเดลแรกเป็นที่รู้จักทันทีในนามของ R11…ถัดมา…1935 R12 กับโครงสร้างเฟรมปั๊ม หน้า กระบอก ถังในเฟรม หลังแข็ง ถูกผลิตออกมา…และ…ตามด้วย 1936 โครงสร้างใหม่ที่ปรับเปลี่ยน เฟรมปั๊มขึ้นรูปถูกแทนด้วย เฟรมท่อ กลม หน้ากระบอก ถังบนเฟรม R5 รถรุ่นสุดท้ายที่ยังคงรั้งพันธนาการ ด้วยเฟรมหลังแบบฮาร์ดเทล ที่แข็งแกร่ง… ก่อนส่งต่อ…ด้วยเฟรม หน้ากระบอก หลังสไลด์คันแรกในปี 1938 จากรถรุ่น R51




R51 เลือกใช้เฟรมท่อกลม หน้ากระบอกไฮดรอลิก ที่ได้รับการพิสูจน์ ในขณะที่นวัตกรรมใหม่เอี่ยมที่เรียกว่า “เทเลสโคปิค แอฟซอฟต์” ก็ได้รับการพัฒนา “หลังสไลด์” บ้านเรากลับเรียกขานอย่างนั้น นี่คือระบบแอฟซอฟต์ที่วางแกนเพลาล้อหลังเข้าไว้กับแนว กระบอกไฮดรอลิก พร้อมติดตั้งคอยล์สปริงในปลอกเดียวกัน มันนิ่มนวลขึ้น ซึ่งโรงงานก็บัญญัติศัพท์แสงอย่างเป็นทางการว่า “Telescopic suspension” โครงสร้างแบบใหม่นี้ ถือเจเนอเรชั่นที่ 5…ก่อน…ปิดท้ายด้วยความนิ่มนวลบนบอดี้ของ R50 ในชื่อสามัญว่า “โช้คสวิงอาร์ม” ตั้งแต่ปี 1955 และยังคงใช้กระทั่งวาระสุดท้ายของยุครุ่งโรจน์…ถึง…ปี 1969 




ENGINE เครื่องยนต์ของ มอเตอร์ไซค์ BMW R51/3


เครื่องยนต์บ็อกเซอร์ Flat-Twin (1923-1969) ระบายความร้อนด้วยอากาศ ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1923 จากความคิดที่ว่า เครื่องยนต์ “สูบนอน” สามารถระบายความร้อนได้ดีกว่า เพราะเสื้อสูบจะปะทะกับอากาศได้โดยตรง
โดยความคิดดังกล่าวถือเป็น ประเพณีที่ถูกสืบทอดยาวนานมากระทั่งปัจจุบัน ภายใต้รหัสเครื่องยนต์ที่สะอาดตาว่า “บล็อก R” ที่ผลิตออกจำหน่ายทั้ง ระบบไซด์วาล์ว (SV) และ โอเวอร์เฮดวาล์ว (OHV) โดยมีปริมาตรกระบอกสูบตั้งแต่ 494/594 และ 745 ซี.ซี….
R51/3 ถูกผลิตภายใต้พื้นฐานของ เครื่องยนต์โมเดล R51 ที่เปิดตัวในปี 1938 ด้วยปริมาตรกระบอกสูบ/ช่วงชักที่ 68/68 มม. ทว่า วิศวกรก็ไม่ลืมพัฒนาในเรื่องของ “รอบเครื่องยนต์” ที่เพิ่มขึ้นจาก 5,600 รอบ/นาที เป็น 5,800 รอบ/นาที ที่ 24 แรงม้า เท่ากัน จะเรียกว่า…นี่…เป็นเสมือนการจับเอาทั้ง R51, R51/2 มาอัพเกรดก็เห็นจะได้
ซึ่ง R51/3 ถือโอกาสลอง “ชุดไฟ” ตัวใหม่จากค่ายพันธมิตรในนามของ Noris (ทั้ง R51, R51/2 ต่างใช้ชุดไฟของ Bosch)…มันเวิร์ค!!! ด้วยยอดการผลิตจำนวนถึง 18,420 คัน ที่ทยอยออกสู่ตลาดทั้งในและนอกเยอรมนี… ซึ่ง…ถือเป็นเครื่องยนต์ขนาด 494 ซี.ซี. บล็อกสุดท้ายที่รับเอา “ความเป็นที่สุด” ของโรงงานไป…เต็ม…เต็ม!!!





TRANSMISSIONระบบขับเคลื่อนด้วย “เพลา” อันเป็นเอกลักษณ์นั้น BMW ไม่เคยคิดจะเปลี่ยนแปลงใดๆ ข้อดีในเรื่องการดูแลรักษาที่ไม่ต้องมีการปรับ ตั้ง และไร้เสียงรบกวนที่ชวนหัวเสียจึงเป็นข้อได้เปรียบ กระนั้นก็ยังต้องหมั่นดูแลน้ำมันเฟืองท้ายอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน หากไม่พิสมัยการ “ยกยวง” หรือหากจะมีการปรับเปลี่ยนทดเฟืองท้าย ก็สามารถทำได้ให้เหมาะสมตามรูปแบบการใช้งาน ซึ่งการพัฒนาข้างต้น R51/3 ยังคงรับอานิงสงส์ชุดขับหลัง (เพลาเปลือย) จาก R51 มาชนิดยกยวง ทว่า ก็ปรับอัตราช่วงทดเกียร์ต้นใหม่ เพื่อเพิ่มแรงฉุดกระชากมาก ยิ่งขึ้น (R51, R51/2 อัตรา 3.6/ 2.28/ 1.7/ 1.3) เป็น 4.0/2.28/1.7/1.3 เกียร์เดินหน้าแบบ 4 เกียร์ กับชุดขับเพลาหน้า/หลัง ขนาด 9/35 ฟัน คืออัตราทดสำหรับรถถนนใช้งานทั่วไป ทว่า หากพิสมัยติดตั้งไซด์คาร์ของ Steib รุ่นต่างๆ ค่าสัมประสิทธิ์ที่ลงตัว ขนาด 7/32 ฟัน ดูจะเป็นอะไรที่เหมาะสมกว่า




จาก…R51…R51/2…ถึง R51/3 นั้น ใช้เวลาในการพัฒนาถึง 10 ปี (ครึ่งหนึ่งถูกใช้ไปกับภาวะสงคราม) และเฉพาะไลน์ผลิตของ R51/3 เองยังถูกแบ่งออก เป็น 2 เวอร์ชั่น ด้วยกัน 1951-1953 รถหน้ากระบอกปลอกโช้คเหล็ก ดุมเสี้ยว ถูกแทนที่ด้วยโช้คอัพหน้า ปลอกยางย่นกันฝุ่น กับดุมเต็มขนาด 200 มม. มันสวยงาม ทันสมัย และเติมเต็มส่วนที่ขาดหายให้สมบูรณ์แบบอย่างที่ต้องการ…ทว่า…ก็ น่าเสียดาย ภายหลังจากนั้นเพียงปีเดียวแบบการผลิตดั้งเดิมถูก…ปฏิวัติ!!! โครงสร้างใหม่ที่รู้จักกันในนามรุ่น “สวิงอาร์ม”…ก็ถือกำเนิดขึ้น ในปี 1955 ในนามของรุ่น…R50 !?!?! 



ที่มา  http://bmw.in.th/index.php?action=recent

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น